ReadyPlanet.com


แนวทางการเลือกขนาดอุปกรณ์เติมอากาศ


 แนวทางการเลือกขนาดอุปกรณ์เติมอากาศ (Size of aerator) อย่างง่ายเพื่อใช้ในการการเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้กับน้ำท่วมขังที่ค่อนข้างลึก (มากกว่า 0.5 - 1 เมตร) เป็นระยะเวลานานนั้น เราสามารถพิจารณาได้จากขนาดของพื้นที่ (Area) และความลึกของน้ำ (Depth) ในบริเวณดังกล่าว โดยอุปกรณ์เติมอากาศที่ใช้กันทั่วไป สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1.    อุปกรณ์เติมอากาศแบบจุ่มลงในน้ำ (Submerged Aerator) ซึ่งอาศัยการเป่าอากาศลงในน้ำโดยตรงเพื่อเติมอากาศ

2.    อุปกรณ์เติมอากาศที่ผิวน้ำ (Surface Aerator) ซึ่งอาศัยการปั่นกวน หรือตีน้ำที่บริเวณผิวน้ำ เพื่อให้น้ำมีโอกาสสัมผัสกับอากาศด้านบน เพื่อเติมอากาศลงในน้ำ 

อย่างไรก็ตาม ในสภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นนี้ อุปกรณ์เติมอากาศที่ผิวน้ำน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่า เนื่องจากสามารถติดตั้งได้ง่าย และมีหลักการทำงานไม่ซับซ้อน  

ดังนั้น ในที่นี้จึงขอนำเสนอแนวทางการเลือกใช้อุปกรณ์เติมอากาศที่ผิวน้ำ สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ (ชุมชน หรือ นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น) ที่ประสบปัญหาน้ำเน่าเสียจากการท่วมขังเป็นเวลานาน โดยอ้างอิงจากขนาดพื้นที่และความลึกของน้ำที่ต้องการเติมอากาศ ดังแสดงในตารางด้านล่าง

ข้อแนะนำในการเลือกขนาดเครื่องเติมอากาศ

คำอธิบาย: http://www.engsub.eng.chula.ac.th/files/u22/air51.png

โดยจากขนาดเครื่องเติมอากาศ ((กิโลวัตต์ / แรงม้า)) ที่เลือกใช้ด้านบน มีข้อแนะนำในการเดินระบบเติมอากาศ ดังนี้

·         ขั้นที่ 1: เริ่มเติมอากาศในพื้นที่เป็นเวลา 2 ชั่วโมง (120 นาที) ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen: DO) จากน้ำที่เน่าเสียสู่ระดับออกซิเจนละลายที่อิ่มตัว

·         ขั้นที่ 2: พักการเติมอากาศเป็นเวลา 30 ชั่วโมง (ประมาณ 1 วันครึ่ง)

·         ขั้นที่ 3: เริ่มเติมอากาศอีกครั้งเป็นเวลา 90 นาที เพื่อเพิ่มค่าออกซิเจนที่ลดลงในช่วงหยุดเติมอากาศสู่ระดับอิ่มตัวอีกครั้ง

หลังจากนั้น ทำซ้ำในขั้นตอนที่ 2 และ 3 ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงจนถึงระดับที่น้ำเน่าเสีย รวมถึงลดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น และผลกระทบต่อสัตว์น้ำในบริเวณด้งกล่าว



ผู้ตั้งกระทู้ TSM :: วันที่ลงประกาศ 2016-07-19 15:22:31


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล