|
เครื่องเติมอากาศผิวน้ำ เครื่องเติมอากาศผิวน้ำแบบรอบช้า ( LOW SPEED SURFACE AERATOR )
เป็นเครื่องเติมอากาศในแนวตั้ง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดที่ใหญ่ จะทำการตีน้ำพร้อมทั้งกวนและดึงน้ำ จากด้านล่างขึ้นมาเพื่อสัมผัสอากาศ จึงทำให้เกิดการกวนอย่างสมบูรณ์ ไม่เกิดจุดอับอากาศ สามารถใช้งานได้ดีกับบ่อที่มีขนาดใหญ่และค่อนข้างลึก
สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว มีทั้งแบบ FLOATED TYPE และ FIXED TYPE สำหรับ FLOATED TYPE เพียงนำเครื่องลงน้ำแล้วยึดด้วยเชือก หรือ ลวดสลิง เครื่องจะลอยอยู่ผิวน้ำ ณ. ตำแหน่งที่ต้องการ และสามารถปรับระดับความลึกของใบพัดที่อยู่ในน้ำได้ ด้วยการปรับเกลียวปรับระดับ เวลาใช้งานเพียงเปิดสวิทซ์เครื่องก็จะทำงานตามต้องการ
1. ใช้มอเตอร์เกียร์ที่มีค่า Service Factor ตั้งแต่ 1.8 ขึ้นไป สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง 2. Gear Unit เป็นแบบ Agitator Type หรือ Flange Type ซึ่งใช้กับเครื่องเติมอากาศโดยเฉพาะ 3. โครงสร้างสามารถผลิตได้จากวัสดุหลากหลายชนิดมีทั้ง Mild steel , Hot-dip Galanized steel, Stainless steel 304 และ 316 ตัวเครื่องเคลือบด้วยสีอีพ๊อกซี่อย่างดี ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน 4. ใช้กับบ่อน้ำเสียได้ทุกประเภท ความลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร 5. เครื่องออกแบบ และ ควบคุมการผลิตโดยวิศวกรที่มีความชำนาญทางด้านนี้โดยเฉพาะ จะทำให้เครื่องทำหน้าที่เติมอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. ปริมาณออกซิเจนที่เติมได้ในน้ำ 1.5 KgO2/Hp/Hour 7. มีขนาดตั้งแต่ 1-100 แรงม้า 8. เครื่องเติมอากาศลอยขึ้นหรือลงตามสภาพน้ำเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้อย่างดีเยี่ยม 9. สามารถเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ได้ดีกว่าเครื่องทุกรุ่นทุกแบบในสภาพน้ำที่เป็นกรด 10. ทำให้ค่า D.O.D ในน้ำลดลงอย่างที่เราต้องการปล่อยทิ้งลงสู่คลองสาธารณะ 11. ในสภาพน้ำเป็นกรดหรือเน่าเสีย ทำให้ค่า D.O.D. สูงขึ้น เราสามารถเปิดเครื่องเติมอากาศ ตลอด 24 ชม ตามระบบไฟฟ้าที่ควบคุมด้วยตู้คอนโทรลระบบอัตโนมัติ สามารถตั้งเวลาได้ตามต้องการ 12. ทนต่อสภาพอากาศ ร้อนชื้น ตามสภาพอากาศในประเทศได้อย่างดี เพราะเป็นมอเตอร์เกียร์ ของเยอรมัน 13. สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ไม่ยุ่งยาก 14. ต่อไฟระบบสตาร์เดลต้ามอเตอร์เกียร์รับโอเวอร์โหลด เวลาเครื่องทำงานกินกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 7.6 A. ประหยัดไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี 15. ควบคุมไฟฟ้าด้วยตู้อัตโนมัติระบบคอนโทรล ติด Timer ตั้งเวลา
องค์ประกอบของเครื่องเติมอากาศผิวน้ำแบบรอบช้า1. มอเตอร์เกียร์ (Gear Motor )เป็นต้นกำลังในการหมุนใบพัดเติมอากาศ ( Air Impeller ) โดยมีการทดรอบอยู่ที่ช่วงประมาณ50 ถึง 120 รอบต่อนาที ติดตั้งในแนวดิ่งแบบหน้าจาน ( Flange Mount ) มอเตอร์ไฟฟ้าจะต้องเป็น แบบปิดมิด ( TEFC ) และต้องกันน้ำสาดและน้ำฝน IP55 Class F )หรือเทียบเท่า ขนาดของมอเตอร์ เกียร์จะเลือกจากปริมาณการเติมออกซิเจนให้กับน้ำ และการจัดวางเครื่องจักรลงบ่อ โดยผู้เลือกใช้สามารถออกแบบและเลือกขนาดและจำนวนได้ตามต้องการ2. ใบพัดเติมอากาศ (Air Impelle)มีลักษณะเป็นใบพัดแบบโคน (Conical Shape and Spiral Blade)ด้านบนจะมีหน้าจานเพื่อประกบกับส่วนของมอเตอร์เกียร์ ขณะหมุนจะกวนน้ำและดึงน้ำจาก ส่วนล่างของบ่อเติมอากาศขึ้นมาด้านบน ทำให้น้ำแตกกระจายและอากาศสามารถแทรกเข้าจับกับน้ำเสียได้ดียิ่งขึ้น ใบพัดเติมอากาศมักจะทำจากเหล็กแบบ SS400 และพ่นทับด้วยสีอีพอกซี่3. โครงยึดเครื่อง ( Support Frame )ลักษณะของโครงยึดเครื่องจะขึ้นอยู่กับการติดตั้ง ซึ่งผู้ใช้งานมักจะติดตั้งเครื่องบนทุ่นลอย( Float ) โครงยึดเครื่องจะมีลักษณะเป็นก้านสามก้านสำหรับยึดติดกับทุ่นลอยทั้งสามมุมด้านบนยึดติดกับหน้าจานของมอเตอร์เกียร์ตรงกลางเครื่อง ส่วนด้านที่จะยึดติดกับทุ่นลอยจะอยู่ที่ปลายก้านทั้งสาม โครงยึดเครื่องมักจะทำจากเหล็กแบบ SS400 และพ่นทับด้วยสีอีพอกซี่4. ทุ่นลอย ( Float )จะมีลักษณะคล้ายทรงกระบอกตั้ง โดยมีข้อต่อสำหรับยึดกับก้านขอ งโครงยึดเครื่องทั้งสามด้าน ทุ่นลอยมักจะทำจากเหล็ก SS400 พ่นทับด้วยอีพอกซี่ และภายในบรรจุโฟมเพื่อช่วยในการพยุงตัวให้ลอยได้ดีหมายเหตุ- ควรเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ ทุกๆ 6 เดือน - การติดตั้งเครื่องเติมอากาศควรปรับระดับใบพัดอยู่ในแนวดิ่ง ให้อยู่ในแกนที่ 5 ซม. จากขอบ ใบพัดถึงพื้นน้ำเป็นอย่างน้อย - ควรยึดเชือกหรือลวดสลิงให้ได้ตามแนวระดับองศาแขนโครงสร้างของเครื่องเติมอากาศหลัก กับสมอตอกที่ขอบบ่อน้ำแล้วยึดให้แน่ก่อนจะเปิดทำงาน
|